เด็กไทย สร้างชื่อ! ยกทัพโกอินเตอร์ญี่ปุ่น นำผู้ชนะโครงการแข่งขันการพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบ IoT เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า
เมื่อวันที่ 3-6 สิงหาคม 2567 GISTDA ร่วมกับ National Space Policy Secretariat, Cabinet Office of Japan (CAO), Multi -GNSS-Asia, Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA), MIE University, KEIO university และหน่วยงานพันธมิตรญี่ปุ่น ร่วมจัดกิจกรรม Rapid Prototype Development Booth Camp นำทีมโดยเด็กไทยผู้ชนะลงพื้นที่ ณ เมือง OWASE และ Kyoto ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่
1.) Team REC จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ชนะรางวัลชนะเลิศ (MGA Awards)
2.) Team Haitenshyon จากโรงเรียนพุนพินพิทยาคม ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศ (GISTDA Awards)
3.) Team Nong-Tang ทีมผสมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศ (GISTDA Awards)
4.) Team WEEKEL จากประเทศมาเลเซีย ผู้ชนะรางวัล (Michibiki Awards)
.
การลงพื้นที่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเป้าสำรวจ เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น สรุปข้อปัญหาภัยพิบัติ (Pain Point) และหาแนวทางแก้ปัญหาของประชาชนในเมือง ผ่านการ Workshop ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละทีมนำเสนอไอเดียพัฒนาแล้วมาต่อยอด ประยุกต์เข้ากับแจ้งเตือนภัยพิบัติในท้องถิ่น เพื่อช่วยจัดการปัญหา อาทิ แผ่นดินไหว สึนามิ น้ำท่วม พายุใต้ฝุ่น ตลอดจนปัญหาดินถล่ม โดยเสนอแนวคิด และแนวทางให้กับเมือง ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ จะสามารถนำไปต่อยอดช่วยจัดการแก้ไขปัญหาให้กับเมืองโอวาเซะได้ในอนาคต
.
ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและไทย โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมกับ (CAO), Multi -GNSS-Asia, Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) และหน่วยงานพันธมิตรญี่ปุ่น จัดกิจกรรมส่งเสริมในการพัฒนาต่อยอดการใช้เทคโนโลยีอวกาศและอุปกรณ์ต้นแบบ IoT (RPD Challenge) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาต้นแบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า (Early Warming Service) ด้วยดาวเทียมระบุตำแหน่งแม่นยำสูง (QZSS) ในระดับนานาชาติโดยใช้ features สำคัญของดาวเทียมนำทางจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถแจ้งตำแหน่งแม่นยำสูงพร้อม ข้อความแบบสั้น (Short Message) แต่ละทีมจะนำ Hardware IoT ที่ได้รับ มาแข่งขันและพัฒนาระบบที่สามารถพัฒนาการทำงานร่วมกับมือถือสมาร์ทโฟน นาฬิกา หรืออุปกรณ์แจ้งเตือน เพื่อสามารถแจ้งเตือนได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆสามารถแจ้งเหตุภัยพิบัติให้รับรู้โดยทั่วกัน ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียอันเกิดจากธรรมชาติได้อย่างมหาศาล และสำคัญที่สุดคือสามารถแจ้งเตือนด้วยข้อมูลที่แตกต่างกันขึ้นอยู่ กับตำแหน่งและพื้นที่ (Location Based)