ข้อมูลดาวเทียมระบบ MODIS พบค่าฝุ่น PM 2.5 ในระดับมีผลต่อสุขภาพ (สีแดง) ในจังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร อุทัยธานี ชัยนาท และสุพรรณบุรี รองลงมาพบในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) กระจายอยู่ในหลายจังหวัด อาทิ ลำปาง แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อยุธยา ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ชลบุรี และกรุงเทพมหานคร ในส่วนคุณภาพอากาศปานกลาง (สีเหลือง) พบการกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งประเทศ และพบคุณภาพอากาศดี (สีเขียว) ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีษะเกษ สุรินทร์ ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ และตรัง
โดยในช่วงนี้สภาพอากาศที่มีลมกำลังอ่อนจะทำให้เกิดปรากฏการณ์อากาศปิด (อินเวอร์ชั่น) สังเกตเห็นได้ถึงสภาวะลมสงบหรือลมอ่อน ซึ่งจะทำให้ฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศไม่สามารถระบายได้และเกิดการสะสมในอากาศจะทำให้ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น
ในส่วนของข้อมูลจากดาวเทียมฮิมาวาริ (Himawari) ของระบบการติดตามปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในช่วงเวลาเดียวกัน พบค่าคุณภาพอากาศที่อยู่ระดับที่ “เริ่มจะมีผลต่อสุขภาพ” (สีส้ม) ในภาคเหนือตอนล่างลงมาจนถึงภาคกลาง ส่วนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายพื้นที่พบคุณภาพอากาศปานกลาง (สีเหลือง) ในขณะที่ภาคเหนือคุณภาพอากาศดี(สีฟ้า)ในหลายพื้นที่
ทั้งนี้ผลการติดตามปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 จากดาวเทียมระบบModis และดาวเทียมHimawari มีความแตกต่างกันในบางพื้นที่ เนื่องจากความแตกต่างของรายละเอียดดาวเทียมและปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ค่าฝุ่นPM2.5นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้
ทั้งนี้ GISTDA จะติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานหลักและที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่ รวมทั้งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามสถานการณ์ PM2.5 อย่างดีที่สุด เพื่อให้ทุกท่านรับทราบข้อมูลอย่างทันท่วงที โดยท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://fire.gistda.or.th