Head GISDTDA

ข้อมูลภาพจากดาวเทียมฮิมาวาริ (Himawari) และดาวเทียมอื่นๆ ของระบบการติดตามปริมาณฝุ่น PM2.5 วันที่ 2 เมษายน 2564

จากสถานการณ์ไฟป่าทางภาคเหนือ ส่งผลให้หลายพื้นบริเวณทางภาคเหนือ พบกับจุดความร้อนและฝุ่นที่เพิ่มขึ้น

GISTDA เฝ้าติดตามสถานการณ์ PM 2.5 อย่างต่อเนื่อง เช้านี้พบว่า... ข้อมูลภาพจากดาวเทียมฮิมาวาริ (Himawari) และดาวเทียมอื่นๆ ของระบบการติดตามปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของวันที่ 2 เมษายน 2564 ในเช้านี้ช่วงเวลา 09.00 น.   พบพื้นที่ภาคเหนือยังคงปกคลุมไปด้วยฝุ่นละออง PM 2.5 ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) และพบบางพื้นที่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัด # เชียงราย พบค่า  AQI สูงถึง 313 และต่ำสุดในภาคเหนืออยู่ที่ #เพชรบูรณ์ พบค่า  AQI 49 สำหรับพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่พบคุณภาพอากาศปานกลาง (สีเหลือง) ในส่วนพื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ พบคุณภาพอากาศค่อนข้างดีหลายพื้นที่

ส่วนปริมาณจุดความร้อนที่เกิดขึ้นวานนี้ 1 เมษายน โดยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS) พบจุดความร้อนทั้งประเทศจำนวน 1,674 จุด โดยที่ภาคเหนือพบจุดความร้อนมากที่สุดจำนวน 1,311 จุด  และพบมากในพื้นที่ของ จังหวัด #เชียงใหม่ 333 จุด รองลงมา #น่าน 159 จุด และ #แม่ฮ่องสอน 151 จุด ตามลำดับ ซึ่งจุดความร้อนที่พบส่วนใหญ่ อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยจุดความร้อนที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นไปตามคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงเกิดไฟป่าที่ได้ทำการวิเคราะห์ไว้

สำหรับจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านกลับมาเพิ่มสูงอีกครั้ง โดยสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งถึง 5,012 จุด รองลงมาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  3,615 จุด ตามลำดับ ตามลำดับ โดยสถานการณ์ของจุดความร้อนที่พบจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้พื้นที่จังหวัดใกล้เคียงได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองและหมอกควัน ที่ลอยข้ามแดนเข้ามาได้ โดยเฉพาะวันนี้หลายพื้นที่ในภาคเหนือ มีค่าคุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และค่า AQI สูง เกิน 100

เวลา 14.00 น.

ข้อมูลภาพจากดาวเทียมฮิมาวาริ (Himawari) และดาวเทียมอื่นๆ ของระบบการติดตามปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของวันที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 14.00 น. พบพื้นที่ภาคเหนือยังคงปกคลุมไปด้วยฝุ่นละออง PM 2.5 ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) และบางพื้นที่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม)  โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัด #เชียงราย พบค่า AQI ค่อนข้างสูงอยู่ที่ระดับ 319 ส่วนค่า AQI ที่พบต่ำสุดในภาคเหนืออยู่ที่ 44 ในพื้นที่จังหวัด #อุทัยธานี  ในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบค่าคุณภาพอากศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) กระจายตัวอยู่ในบางพื้นที่ สลับกับคุณภาพอากาศปานกลาง (สีเหลือง) ที่ปกคลุมเกือบทั่วภูมิภาค



อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้

ทั้งนี้ GISTDA จะติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานหลักและที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่ รวมทั้งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามสถานการณ์ PM2.5 อย่างดีที่สุด เพื่อให้ทุกท่านรับทราบข้อมูลอย่างทันท่วงที โดยท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://pm25.gistda.or.th/

Admin 2/4/2021 0
Share :