Head GISDTDA

ไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุบาเจาะ จ.นราธิวาส

***จิสด้าจะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวและนำมารายงานอย่างต่อเนื่อง***

จิสด้ายังคงติดตามสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุบาเจาะ จ.นราธิวาส อย่างต่อเนื่อง  โดยล่าสุดข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2B เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 พบพื้นที่เผาไหม้เพิ่มเติมจากเดิมประมาณ 320 ไร่ (เส้นกรอบสีเขียว) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ (จุดสามเหลี่ยมสีดำ) ทำให้ขณะนี้มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายไปแล้วทั้งสิ้น 2,050 ไร่
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวจะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าตรวจสอบในพื้นที่จริงร่วมกับจังหวัด เพื่อนำไปสู่การวางแผนฟื้นฟู ป้องกัน และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน อันจะส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว และการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนต่อไป

 

____________________________________________________________________

ความคืบหน้าเพิ่มเติมกรณีไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุบาเจาะ จ.นราธิวาสภาพจากดาวเทียม LANDSAT- 8 ของวันนี้ (27 พฤษภาคม 2563) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า เผยให้เห็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไฟป่า โดยเฉพาะกลุ่มควันไฟที่ค่อนข้างหนาแน่นไปทั่วบริเวณ ซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วยภาพจากดาวเทียมดังกล่าวพบว่า มีพื้นที่เผาไหม้เพิ่มเติมประมาณ 200 ไร่ (เส้นกรอบสีน้ำเงิน) ทั้งนี้ คาดว่ามาจากกระแสลมที่พัดจากทางใต้ขึ้นไปทางเหนือ ทำให้ขณะนี้มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากการเผาไหม้ไปแล้วประมาณ 1,730 ไร่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวจะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าตรวจสอบในพื้นที่จริงร่วมกับจังหวัด เพื่อนำไปสู่การวางแผนฟื้นฟู ป้องกัน และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน อันจะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว และการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนต่อไป

ภาพจากดาวเทียมพบไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุบาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้าได้นำข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 ของวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 มาวิเคราะห์พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นกลุ่มควันไฟ, ฝุ่นละออง และพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากการเผาไหม้ ซึ่งจะสังเกตเห็นได้จากภาพถ่ายดาวเทียมว่ามีพื้นที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากกว่า 1,500 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เผาไหม้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 จำนวน 350 ไร่ (กรอบสีเหลือง) และเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 จำนวน 1,220 ไร่ (กรอบสีชมพู) ทั้งนี้ ข้อมูลจุดความร้อน หรือ Hotspot จากดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นถึงการกระจายตัวการเผาไหม้ในพื้นที่และช่วงเวลาดังกล่าวได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวจะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าตรวจสอบในพื้นที่จริงร่วมกับจังหวัด เพื่อนำไปสู่การวางแผนฟื้นฟู ป้องกัน และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน อันจะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว และการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนต่อไป

 

Admin 27/5/2563 1842 0
Share :