ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Azimuth angle กันก่อน ซึ่งก็คือ มุมกวาดที่จานสายอากาศทำการกวาดไปในแนวพื้นราบ (horizontal) เพื่อให้เล็งเห็นดาวเทียม โดยนับเริ่ม 0° ที่ทิศเหนือ และกวาดไปตามเข็มนาฬิกาในแนวพื้นราบจนกลับมาครบรอบที่ทิศเหนือที่ 360° หรือคือ 0° นั่นเองครับ ส่วน Elevation angle คือ มุมเงยที่จานสายอากาศทำการเงยขึ้นทำมุมกับระนาบแนวพื้นราบเพื่อให้เล็งเห็นดาวเทียม โดยนับเริ่ม 0° ในขณะที่จานสายอากาศ ทำมุม 0° กับระนาบแนวพื้นราบ หรือขนานกับแนวพื้นราบนั่นเอง โดยที่มุมเงยจะมีค่ามากที่สุดที่ 90° เมื่อเงยจานสายอากาศตั้งฉากกับระนาบแนวพื้นราบ
ในระบบจานสายอากาศเองจะต้องสามารถคำนวณเพื่อทำนายแนวโคจรเมื่อดาวเทียมโคจรเข้ามาในพื้นที่ครอบคลุมของการรับสัญญาณ และจะทำการสั่งให้จานรับสัญญาณทำการติดตาม (Tracking) ดามเทียมไปตามแนวโคจรของดาวเทียม โดยมีพิกัดอ้างอิงเป็นมุม Azimuth และ มุม Elevation ซึ่งพารามิเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณเพื่อทำนายแนวโคจรของดาวเทียมมีหลายรูปแบบด้วยกัน แต่รูปแบบที่นิยมกันและ GISTDA ใช้งานอยู่คือรูปแบบที่เรียกว่า Two-Line Element หรือ TLE (รูปแบบของกลุ่มตัวเลขเรียงกันสองบรรทัด ที่นำมาใช้ในการทำนายตำแหน่งและวงโคจรของดาวเทียม และวัตถุที่โคจรรอบโลก) นั่นเองครับ
# ในคราวหน้าเราจะมาดูกันว่าจานสายอากาศจะทำการติดตามดาวเทียมเพื่อทำการรับสัญญาณข้อมูลได้อย่างไร?
ขอบคุณข้อมูลจาก
ทศพล ชินนิวัฒน์ วิศวกรชำนาญการ
#gistda #gistdaก้าวสู่ปีที่21 #จิสด้า #อว #กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #mhesi #spacetechnology #NewSpaceEconomy #อวกาศ #พัฒนาดาวเทียม #วิศวกรไทย #คนไทยทำได้
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GISTDA ตกลง
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GISTDA ตกลง