Head GISDTDA

หนึ่งในการรับมือปัญหาสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกคือ การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

#หนึ่งในการรับมือปัญหาสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกคือ_การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
.
ปฎิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เรากำลังเผชิญกับปัญหาสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอันส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ นอกจากการยอมรับแล้วการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างมนุษยชาติก็เป็นสิ่งสำคัญของการเตรียมรับมือ GISTDA จึงได้จัดให้มีเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติ เพื่อแบ่งปันวิธีการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับภาคการเกษตร
.
ด้วยการสนับสนุนจาก Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) ภายใต้กลุ่มความร่วมมือ APEC Policy Partnership on Science, Technology and Innovation GISTDA ได้ดำเนินโครงการ Capacity Building on Climate-Smart Agriculture by Using Geospatial Data and Earth Science Technology เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและการเข้าถึงเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการการเกษตรเชิงพื้นที่ภายใต้สภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง และการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือเชิงวิชาการระหว่างประเทศ ของประเทศภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอาเซียน
.
โครงการดังกล่าวดำเนินการผ่านการจัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ หัวข้อ Climate-Smart Agriculture by Using Geospatial Data and Earth Science Technology ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 2565 ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การบรรยายกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำหรับบริหารจัดการเกษตรอัจฉริยะ จาก GISTDA และหน่วยงานพันธมิตรระหว่างประเทศ
.
ได้แก่ Aerospace Information Research Institute, Chinese Academy of Sciences (AIR CAS) จากประเทศจีน Indian Institute of Remote Sensing (IIRS) และ Centre for Space Science and Technology Education in the Asia Pacific (CSSTEAP) จากประเทศอินเดีย รวมถึง Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) และ the University of Tokyo จากประเทศญี่ปุ่น
.
ซึ่งผู้เข้าร่วมได้รับฟังการบรรยายและมีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญในประเด็นเชิงวิชาการและการประยุกต์ใช้ในเชิงรูปธรรม นอกจากนี้กิจกรรมดังกล่าวได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการใช้งานระบบ Climate-Smart Agriculture Learning Platform ที่พัฒนาโดย GISTDA ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ทางการเกษตรที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบแผนที่ เพื่อใช้ในการวางแผน วิเคราะห์ และสนับสนุนการตัดสินใจ ในด้านการบริหารจัดการเกษตรให้มีประสิทธิภาพตามบริบทของแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
.
อีกทั้ง ผู้เข้าร่วมประชุมก็ยังมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ผ่านกิจกรรม Group Discussion ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้แทนของแต่ละประเทศนำเสนอข้อมูลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับการบริหารจัดการเกษตรในบริบทของแต่ละประเทศ โดยร่วมหารือกับผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ กิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด จำนวน 55 คน จากประเทศ 13 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ชิลี ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย รัสเซีย ลาว กัมพูชา พม่า และ ไทย
.
จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทำให้เห็นผลสัมฤทธิ์ของความร่วมมือระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม GISTDA จึงเกิดแนวความคิดต่อยอดกิจกรรมในอนาคตผ่านการร่วมกันนำเข้าและพัฒนาฐานข้อมูลระบบ Climate-Smart Agriculture Learning Platform และพัฒนาแบบจำลองที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อสนับสนุนการจัดการด้านการเกษตรในดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค อีกทั้งความร่วมมือในครั้งนี้ยังจะเป็นการช่วยเหลือแก่ประเทศที่ยังขาดแคลนระบบดังกล่าวเพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
.
และแน่นอนว่าการจัดกิจกรรมฝึกอบรมนานาชาติภายใต้การดำเนินการของศูนย์ ASEAN Research and Training Center for Space Technology and Applications หรือ ARTSA ซึ่งมี GISTDA เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนหลัก จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนเพื่อการเพิ่มพูนทักษะและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและภูมิภาคต่อไปในอนาคต
.
#จิสด้าก้าวสู่ปีที่22 #จิสด้า #GISTDA #การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก #การเรียนรู้ #APEC #Partnership #Scince #Technology #Innovation #การเกษตร 

phakpoom.lao 30/6/2022 935 0
Share :

Related news