Head GISDTDA

ส่งต่อคุณค่าจากอวกาศสู่สังคม: ทุกความร่วมมือคือกุญแจสู่ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศไทย

 

   GISTDA หรือสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ในฐานะหน่วยงานของภาครัฐที่ให้บริการด้านข้อมูลจากเทคโนโลยีอวกาศผ่านระบบดาวเทียมสำรวจโลก ไม่เพียงแต่มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางอวกาศ แต่ยังมุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมทั้งทักษะและองค์ความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับเศรษฐกิจอวกาศระดับโลก

 

   ณ วันนี้ อุตสาหกรรมอวกาศไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่ถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของแต่ละประเทศเพื่อสร้างและพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ให้ดียิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทย รัฐบาลกำหนดให้อุตสาหกรรมอวกาศเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (10 S-Curve) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตของประเทศ (New Engine of Growth) การรวบรวมและพัฒนาข้อมูล เทคโนโลยี กำลังคน และสร้างความร่วมมือ ถือเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้เดินหน้าบนเส้นทางอุตสาหกรรมอวกาศในระดับสากล

 

เราเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีอวกาศคือคำตอบที่จะช่วยพัฒนาชาติสู่ความยั่งยืนได้

   โครงการ THEOS-2 ถือว่าเป็นประตูสำคัญเปิดสู่การพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรมอวกาศไทยทั้งด้านโครงสร้าง บุคลากร นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ มีการพัฒนาระบบเพื่อตอบโจทย์การวางแผนพัฒนาและบริหารพื้นที่ด้วยนวัตกรรม มุ่งสู่การใช้ประโยชน์ทั้งระดับนโยบายและภาคปฏิบัติกับ 6 Solutions ได้แก่ เมือง ระบบนิเวศ แผนที่ เกษตร ภัยพิบัติ และการจัดการน้ำ

 

   ภารกิจการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของไทยไปสู่ระดับโลก เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันของหลายภาคส่วน ที่สำคัญคือการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ตัวอย่างเช่น การผนึกกำลังความร่วมมือในประเทศ เพื่อดำเนินโครงการภาคีความร่วมมือการพัฒนาดาวเทียม หรือ Thailand Space Consortium โดยบูรณาการขีดความสามารถ ความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน คือ

  • สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
  • สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม กระทรวงกลาโหม
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

   GISTDA มุ่งสร้างพันธมิตรพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศ ผลักดัน Co-creation ในทุกภาคส่วนบนพื้นฐานของความโปร่งใสและตรวจสอบได้ พร้อมขยายกลุ่มผู้ใช้งานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศไปสู่ภาคสังคม ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น

 

   สำหรับความร่วมมือกับต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ การเข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเทคโนโลยีอวกาศ การพัฒนาหลักสูตรการศึกษา และการฝึกอบรม GISTDA มีความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี เช่น ญี่ปุ่น (JAXA) จีน (CNSA) อเมริกา (USGS/NASA) และอินเดีย หรือในระดับพหุภาคี เช่น UN โดยร่วมคณะกรรมการว่าด้วยการใช้ประโยชน์อวกาศในทางสันติ (COPUOS) และ APSCO เป็นต้น

 

   สิ่งเหล่านี้คงเกิดขึ้นไม่ได้ หากทุกภาคส่วนไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนกับการพัฒนาโครงสร้างควบคู่กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ ต้องขอขอบคุณความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งไม่เฉพาะองค์กรทำงานจากทั้งภาครัฐและเอกชน แต่รวมถึงภาคประชาชนที่ร่วมเรียนรู้ เปิดใจ แบ่งปันข้อมูลและข้อเสนอแนะหลากหลายรูปแบบ ทุกความร่วมมือนับเป็นกำลังสำคัญผลักดันให้เรายังคงมุ่งมั่นตั้งใจ ส่งต่อคุณค่าจากอวกาศสู่ประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

amorn.pet 4/7/2565 653 0
Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง