Head GISDTDA

เทคโนโลยีอวกาศกับการจัดการ Climate Change

 

Climate Change วิกฤตอากาศ และบทบาทของทุกคน

หากพูดถึง “วิกฤตสภาพภูมิอากาศ” นาทีนี้ หลายคนคงเห็นภาพมากขึ้นแล้วว่า การดูแลโลกไม่ได้เป็นหน้าที่ของใครเพียงคนเดียว หรือหน่วยงานใดหน่วยงานเดียว แต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือพร้อมใจกันในระดับโลก เพื่อร่วมกันป้องกันและรับมือกับปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ COP26 ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ทุกประเทศสมาชิกให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง เพื่อลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็น Roadmap นำไปสู่การแก้ไขปัญหา Climate Change ร่วมกัน หลายประเทศมีความตั้งใจ โดยวางเป้าหมายเป็นรูปธรรม เช่น สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส วางแผนที่จะห้ามการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซลในปี 2040 และขณะนี้กำลังหารือร่วมกันในประเทศจีน เกาหลีใต้วางเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 5% จากภาคการขนส่งภายในปี 2050 และวางแผนที่จะป้อนรถยนต์ไฟฟ้าสู่ระบบจำนวน 1 ล้านคันภายใน 2 ปี อินเดียกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะมีรถยนต์ไฟฟ้าในสัดส่วน 15% ของรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2023 ส่วนประเทศไทยมุ่งบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-zero Emission) ภายในปี 2065

 

และในช่วงสิ้นปีนึ้ จะมีการจัด COP27 ขึ้นที่ประเทศอียิปต์ เมืองชาร์ม เอล ชีค ระหว่างวันที่ 6-18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 โดยทิศทางที่จะเกิดขึ้นในการประชุม COP27 คือการใช้ประโยชน์จากพลังงานลมและพลังงานหมุนเวียนเพื่อบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

 

เทคโนโลยีอวกาศ กับการจัดการ Climate Change

ปัจจุบัน หลายประเทศใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงการตรวจวัดติดตามก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน เช่น การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนในแต่ละประเทศ ทั้งนี้เทคโนโลยีอวกาศยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเฝ้าระวังเรื่องผลกระทบจาก Climate Change เช่น การเพิ่มขึ้นของน้ำทะเล การเกิดแผ่นดินทรุดตัว การติดตามปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง PM 2.5 การเตือนภัยไฟป่า เทคโนโลยีอวกาศใช้ในการชี้เป้าโอกาสเกิดความร้อนในพื้นที่นั้น ๆ ระบุตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลเชิงพื้นที่มาใช้งาน ทำให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ องค์กรที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลเบื้องต้นไปลงพื้นที่และหาทางแก้ไขได้อย่างตรงจุด และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ประเทศไทยกับการใช้เทคโนโลยีอวกาศจัดการ Climate Change

ในส่วนของประเทศไทย ในปี 2566 ผลพวงจากการดำเนินงานโครงการ THEOS-2 ต่อยอดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาวเทียม และ AIP ในการตรวจวัดและติดตามก๊าซเรือนกระจกและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศในการเฝ้าระวังเรื่องผลกระทบจาก Climate Change ตามแผนนโยบายของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นรูปธรรมจากการให้บริการข้อมูล และการใช้งานหลากหลายมิติ เช่น การใช้ GIS ดำเนินการเกี่ยวกับทะเลสาบกว่า 40 ชั้นข้อมูล ให้บริการข้อมูลวิชาการกับหน่วยงานภายในและภายนอก การใช้ Map Server กับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีการบันทึกข้อมูลทุกปี ข้อมูลการตรวจวัดก๊าซเรือนกระจกจากป่าไม้ ข้อมูลพื้นที่เกษตรวิเคราะห์จากข้อมูลดาวเทียม และข้อมูลค่า PM2.5 ที่วิเคราะห์จากข้อมูลดาวเทียม เป็นต้น

 

ด้วยวิกฤตสภาพภูมิอากาศปัจจุบัน นอกจากความร่วมมือในการปรับพฤติกรรมการอุปโภคและบริโภคของประชาชนทั่วโลก การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางหลักที่จะช่วยดูแลสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกทั้งการติดตาม เก็บข้อมูล และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

 

อ้างอิง

https://thaipublica.org/.../cop24-paris-agreement-global.../

https://globalcompact-th.com/news/detail/632

https://bit.ly/3RmUkh9

https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=5736&lang=EN

https://www.thaipr.net/finance/3243987

amorn.pet 10/10/2565 0
Share :