Head GISDTDA

ความรู้เกี่ยวกับ AIP

เผยแพร่ เมื่อ 1 ก.พ. 2561
        การจะขับเคลื่อนแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกันในทุกมิติ และสร้างความเป็นธรรมทั้งในระดับพื้นที่ ระดับกลุ่ม และระดับบุคคลนั้น จำเป็นต้องวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูลที่ถือได้ว่าเป็น Big Data ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความ Intelligence เข้ามาเป็นเครื่องมือหลักในการคิด ประมวลผล และเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการและขับเคลื่อนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ การดำเนินการแบบ Intelligence นี้ สามารถใช้เสริมหรือทดแทนการบริหารจัดการด้วยวิธีแบบเดิม ๆ ที่ปฏิบัติมานานหลายสิบปี
เครื่องมือที่ว่านี้คือ Actionable Intelligence Policy Platform หรือ AIP Platform ที่จะช่วยกลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลแทนสมองของมนุษย์ ช่วยให้สามารถมองเห็นภาพความเชื่อมโยงของปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ มีความสมดุล และความถูกต้อง ทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา นำไปสู่ทางเลือกการตัดสินใจที่ดีที่สุดที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วเราจะปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามก็ได้ เพราะการตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่มนุษย์
        นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังสามารถบอกได้อีกว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวนั้น หน่วยงานใดบ้างต้องร่วมกันดำเนินการ มีแนวทางดำเนินการอย่างไร ใช้ทรัพยากรเช่นกำลังคนหรืองบประมาณเท่าไร นอกจากนี้ ระบบยังรองรับการติดตามผลการดำเนินการ เพื่อทบทวน ตรวจสอบ ปรับปรุงประสิทธิภาพ
ดังนั้น ต่อไปนี้ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ ระบบ Actionable Intelligence Policy Platform จะรู้หมดจริง ๆ นะ
AIP ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 4 ประการ
        1. INSTITUTION แนวทางการปฏิบัติ อันได้แก่ นโยบาย มาตรการ ภารกิจ อำนาจหน้าที่ โครงการกิจกรรมของหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง การมีส่วนร่วม การติดตามและประมวลผล
        2. INFRASTRUCTURE & DATA โครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่นำมาใช้ของแต่ละภารกิจ
        3. TECHNOLOGY & PROCRESS กระบวนการและวิธีการ รวมถึงเทคโนโลยีที่นำมาใช้
        4. RESOURCES กำลังคนที่มีศักยภาพ และงบประมาณ

 

เผยแพร่ เมื่อ 2 ก.พ. 2561
        หน้าที่หลักสำคัญของ AIP คือ ช่วยกลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Big Data แทนสมองของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์มองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถนำเสนอแนวทางหรือแผนงานได้หลากหลาย ทันสถานการณ์ มีความสมดุล และถูกต้องแม่นยำ ยกตัวอย่างเมื่อนำ AIP เข้ามามีส่วนร่วม เช่น ถ้าหากผมจะทำท่าเรือ ผมจะให้ความสำคัญกับการลงทุนเป็นหลักว่าลงทุนไปแล้วจะคุ้มค่าไหม ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างไร แล้วมีใครบ้างที่จะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ หรือจะต้องมีอะไรในพื้นที่โดยรอบเพื่อเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น อาจจะต้องมีการสร้างห้างสรรพสินค้า หรือโรงพยาบาล หรือสวนสาธารณะเพิ่มเติมในพื้นที่หรือไม่ หรืออาจจะต้องมีที่อยู่อาศัย และโรงเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากการมีท่าเรือจะก่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มแรงงานที่มีครอบครัว ดังนั้น การมีสิ่งสาธาณูปโภครองรับ จึงเป็นการเสนอทางเลือกเพื่อการตัดสินใจให้กับเจ้าของโครงการได้ว่าจะทำหรือไม่ทำ เป็นต้น

ทำไมต้องพัฒนา EEC ด้วย AIP
        ที่ผ่านมา การพัฒนาอาจให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมน้อยเกินไป เพราะต้องการเร่งรัดให้เกิดความรวดเร็ว จึงทำให้เกิดความ แตกต่างและความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเราต้องดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงฯ ด้วยความที่ EEC เป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่มากกว่าหลายเท่า ทำให้หน่วยงานจำนวนมากต้องปฏิบัติตามภารกิจของหน่วยงาน ซึ่งไม่มีทางที่จะวิเคราะห์ข้อมูลแผนงาน โครงการได้ทั้งหมด ดังนั้น การขับเคลื่อนแผนงานต่างๆ ในพื้นที่ EEC ให้มีความสอดคล้องกันในทุกมิติ และเท่าเทียมกันทั้งในระดับพื้นที่ ระดับเซกเตอร์ และระดับบุคคล ซึ่งถือเป็น Big Data ที่สำคัญ ต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความ Intelligence เข้ามาเป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนโยบายของประเทศ และเพื่อเสริมหรือทดแทนการบริหารจัดการด้วยวิธีแบบเดิมๆ ที่ปฎิบัติกันแบบผูกขาดมานานนับ 100 ปี
***ซึ่งหนีไม่พ้น AIP***

เผยแพร่ เมื่อ 6 ก.พ. 2561
        จากที่กล่าวมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สามารถสรุปได้ว่า AIP เป็นเครื่องมือที่ประเทศไทยต้องการ ซึ่ง วท. โดยจิสด้า กำลังดำเนินการพัฒนาภายใต้โครงการธีออส 2 ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการสร้างดาวเทียม แต่เป็นการสร้างคุณค่าจากข้อมูลจากดาวเทียมของไทย และของกลุ่มดาวเทียม รวมถึง Big Data ที่เกิดขึ้นจากแหล่งต่างๆ ทั้งแหล่ง sensor แหล่งนโยบาย และ crowdsourcing ดังนั้น AIP จึงเป็น Platform ที่สร้างความเป็น Intelligence ให้กับ Big Data เพื่อตอบโจทย์ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประเทศนั่นเอง

        เพื่อให้มองเห็นภาพชัดๆ ต่อเนื่องจากเมื่อเช้า จะเห็นได้ว่า AIP เป็นระบบที่กำลังดำเนินการพัฒนาภายใต้โครงการระบบธีออส 2 เพื่อการสร้างคุณค่าจากข้อมูลจากดาวเทียมของไทย และของกลุ่มดาวเทียม รวมถึง Big Data ที่เกิดขึ้นจากแหล่งต่างๆ

เผยแพร่ เมื่อ 7 ก.พ. 2561

        AIP เป็นระบบที่มีความ Intelligence สูงมากๆ หากจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน เช่น google map ที่บอกเส้นทางให้เราได้อย่างยอดเยี่ยม สามารถพาเราไปถึงจุดหมายได้ โดยใช้เวลาที่น้อยที่สุด มีเวลาไปทำประโยชน์ได้อีกเยอะ อีกทั้ง ระหว่างการใช้งานยังบอกเราได้ด้วยว่า ตอนนี้เส้นทางไหนที่ควรไป และใช้เวลาเท่าไหร่
ปล.555 ผมเคยเทสโดยไม่เชื่อในสิ่งที่ระบบบอก สุดท้าย "ผมใช้เวลากว่า 2 ชม. บนท้องถนน"  นี่ซินะที่ผมเคยบอกว่า "สุดท้ายการตัดสินใจอยู่ที่มนุษย์"

เผยแพร่ เมื่อ 8 ก.พ. 2561
        อีก 1 ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยี Intelligence มาใช้ก็คือ facebook ตลอดหลายปีที่ผ่านมา facebook คือช่องทางการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากๆ (พัฒนาการของการสื่อสารตั้งแต่อิเมลล์/ MSN /HI 5/ ICQ เป็นต้น) ซึ่งมีการพัฒนาฟังชั่นของตนเองให้เข้ากับ Life Style ของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้เกิดความรวดเร็ว ประหยัดเวลา งบประมาณ และช่วยการตัดสินใจที่หลากหลาย จึงไม่แปลกใจว่าทำไม Facebook จึงประสบความสำเร็จทางด้านการสื่อสารในปัจจุบันมากถึงเพียงนี้

เผยแพร่ เมื่อ 9 ก.พ. 2561
        อีก 1 ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยี Intelligence มาใช้ มีการคาดการณ์ว่าในปี 2050 ประชากรโลกจะมีถึง 9.8 พันล้านคน ประชากรจากชนบทจะเริ่มขยับขยายเข้าสู่ชุมชนเมืองมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาผลผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นการเพิ่มและยกระดับประสิทธิภาพของผลผลิตด้วยเทคโนโลยีจึงเป็นทางแก้ปัญหาที่กำลังถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในเวลานี้ "ระบบเกษตรอัจฉริยะ" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "Smart Farm" เริ่มถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรบ้างแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยบรรเทาการใช้แรงงานมนุษย์และเพิ่มผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ฟาร์มปลูกแตงกวาในญี่ปุ่นของ Makoto Koike ได้นำเทคโนโลยี Machine learning และ Deep Learning ภายใต้ระบบ TensorFlow ของ Google พร้อมด้วย Raspberry Pi 3 มาใช้ในการคัดแยกแตงกวา ซึ่งให้ความถูกต้องถึง 95% มากกว่าการใช้คนที่ทำได้เพียง 70% เท่านั้น ส่วนในประเทศไทยก็เริ่มมีเกษตรกรบางรายเริ่มมีการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ามาช่วยด้านการเกษตรบ้างแล้ว แต่ยังเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

ความรู้เกี่ยวกับ AIP
        อีก 1 ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยี Intelligence มาใช้ในอุตสาหกรรมประกันภัย ยกตัวอย่างเช่น Fukoku Mutual บริษัทประกันภัยของญี่ปุ่น นำ IBM Watson ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์ข้อมูลผู้ถือกรมธรรม์ สามารถพิจารณาเงินประกันที่ต้องจ่ายกับผู้ถือกรมธรรม์ในแต่ล่ะกรณีได้ โดยดูจากประวัติทางการแพทย์เป็นหลัก และเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น 30% และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายเงินเดือนของพนักงานได้ถึง 140 ล้านเยนต่อปี ผลที่เกิดขึ้นเมื่อนำ AI มาใช้ ปรากฏว่า...

บริษัทตัดสินใจเลิกจ้างพนักงานในแผนกที่เกี่ยวข้อง 34 คน... OMG!!!

เผยแพร่ เมื่อ 10 ก.พ. 2561

        คราวที่แล้วมีการยกตัวอย่างเรื่อง Intelligence โดยการคำนวณเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด โดยอาศัยเวลาที่สั้นที่สุด ระยะทางสั้นที่สุด เป็นการชี้ให้เห็นความ Intelligence ที่สามารถแนะนำเส้นทาง หรือวิธีที่ดีที่สุดให้ผู้ใช้งานได้ หรือที่เรียกว่า Optimization แต่ไม่เพียงเท่านั้นนะครับ นอกจาก Google Map จะช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดแล้ว ยังเชื่อมโยงข้อมูลจำนวนมากๆ หรือที่เรียกว่า Big Data เข้ามาอีกด้วย

        ยังไงอ่ะเหรอที่เรียกว่า Big Data นั่นก็คือตลอดเวลาที่รถวิ่งผ่านตำแหน่งนั้นๆ เราสามารถค้นหาข้อมูลปั๊มน้ำมัน ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก หรือศูนย์บริการรถยนต์แต่ละค่าย ข้อมูลเหล่านี้จะถูกดึงขึ้นมาแสดงให้เราเห็นเมื่อเราอัพเดทแผนที่หรือข้อมูล นั่นแหละคือการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถเชื่อมโยงและนำมาแสดงให้ผู้ใช้งานได้ดู
ข้อมูลที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก จะถูกสำรวจและจัดเก็บตามหมวดหมู่ และจะถูกเรียกใช้งานตามที่ผู้ใช้ต้องการสืบค้นหรือค้นหา ระบบจะจำว่า ข้อมูลใดอยู่ที่ใด เช่น ค้นหาร้านอาหารอีสานแซ่บเว่อร์ ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้น ทั้งตำแหน่งที่ตั้ง ชื่อร้าน ภาพ street view มาโชว์ให้ผู้ใช้งานได้ดูก่อนล่วงหน้า และตัดสินใจได้ว่าจะไปดีไหม หลายท่านคงเคยใช้บริการมาแล้ว ดังนั้นจงรู้ไว้เถอะครับว่า สิ่งนั้นคือความ Intelligence ของระบบ
**ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันความรู้ดีๆ จากคนจิสด้าท่านหนึ่งที่ติดตามเรามาโดยตลอด...ขอบคุณมากครับ
"จิสด้าออฟฟิสเชี่ยล แอดเราเพียงครั้งเดียว ไม่เสียเที่ยวเรื่องความรู้"

ผมยังคงมีตัวอย่างมาเห็นอย่างต่อเนื่องครับ ไม่เว้นแม้แต่วงการแพทย์ของไทย เป็นที่ทราบดีว่าไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่ขาดแคลนเครื่องมือและบุคลากรทางแพทย์ แต่ปัญหานี้ยังเกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยจึงเป็นตัวเลือกที่อุดช่องว่างที่เกิดขึ้น ดังนั้น AI หรือปัญญาประดิษฐ์จึงถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นและยังช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นำ IBM Watson เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์การรักษาโรคมะเร็ง หรือที่โรงพยาบาลเซี่ยงไฮ้ของประเทศจีน มีการใช้เทคโนโลยี AI จากบริษัท Infervison  เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยและเอ็กซเรย์โรงมะเร็งปอด เป็นต้น

***ผมว่าถึงเวลาแล้วหละครับที่จิสด้าต้องใช้ความ Intelligence เข้ามาเป็นกลไกสำคัญในพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทุกขั้นตอน***

 

เผยแพร่ เมื่อ 10 ก.พ. 2561

รู้ไหมว่า 10 อาชีพนี้ จะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีที่มีความ Intelligence :

        1.Web Designer / Web Developer สำหรับวิเคราะห์ทั้งเนื้อหา, รูปภาพ, การเลือกใช้สีในการออกแบบเว็บไซต์แบบอัตโนมัติ

        2.นักการตลาดออนไลน์  ที่จะช่วยปรับปรุงการทำ Online Campaign และสร้าง Personalized Message ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกการสื่อสาร

        3.ผู้ดูแลออฟฟิศ  สำหรับตรวจตราและดูแลรักษาออฟฟิศ ทั้งคอยจัดการปิดประตูเมื่อไม่มีคนเข้าออก, ตรวจสอบการใช้พลังงานของออฟฟิศในยามค่ำคืน, ค้นหาสิ่งแปลกปลอมในที่ทำงานและถ่ายภาพส่งยามหรือเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ

        4.นักบัญชี สำหรับทำบัญชี โดยอ่านเอกสารใบเสร็จต่างๆ ไปกรอกลงฟอร์มบัญชีของแต่ละองค์กรได้

        5.HR องค์กร สำหรับทำหน้าที่เป็น Headhunter ช่วยคัดกรองผู้สมัครและจัดลำดับผู้สมัครให้อัตโนมัติ และยังมี Chatbot คอยทำหน้าที่รับสมัครและอัปเดตผลการรับสมัครแก่ผู้สมัครงาน

        6.นักข่าว ที่สามารถอ่านเอกสารต่างๆ มาสรุปเป็นเนื้อหาข่าวได้ และเริ่มมีสื่อใหญ่ใช้งานจริงแล้ว

        7.บรรณาธิการ สำหรับตรวจทานเนื้อหางานเขียนต่างๆ ให้ใช้คำได้ถูกต้องและดึงดูดมากยิ่งขึ้น

        8.นักกฎหมาย นักกฎหมายที่ช่วยให้ข้อมูลความรู้ด้านกฎหมายต่างๆ พร้อมติดตามและสรุปเรื่องราวคดีต่างๆ ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจได้

        9.แพทย์ สำหรับซักประวัติและช่วยวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วย พร้อมติดตามข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยในภายภาคหน้า และเริ่มมีการทดสอบใช้จริงแล้ว

       10.จิตแพทย์ ที่สามารถทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ได้ โดยใช้วิธีการหลากหลาย เช่น ใช้ Sensor ตรวจจับความผิดปกติในการเคลื่อนไหวร่างกายของมนุษย์ เป็นต้น

ความ Intelligence ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่เราต้องปรับตัวและใช้มันให้เป็นประโยชน์

ความรู้เกี่ยวกับ AIP
        เทคโนโลยีอัจฉริยะ ช่วยป้องกันปัญหาอาชญากรรมในเมือง ในอีก 5 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีขั้นสูงจะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมในเมืองให้น้อยลงได้ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ด้วยระบบวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมจากสถิติและแนวโน้มเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าว่าพื้นที่ไหน เวลาใด เสี่ยงเกิดเหตุร้าย และช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลงพื้นที่ตรวจตราความสงบเรียบร้อย และป้องกันการก่ออาชญากรรมหรือรับมือกับปัญหาได้อย่างทันท่วงทีรวมถึง เทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันและรับมือกับปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ก็จะได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและใช้งานแพร่หลายมากขึ้น เช่น ระบบดับเพลิงอัจฉริยะ ช่วยคาดการณ์ความเสี่ยงจากอัคคีภัยในเมือง และรับมือกับปัญหาเพลิงไหม้หรือไฟป่า, ระบบควบคุมอุทกภัยแบบอัจฉริยะ ด้วยเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณน้ำฝนบริเวณเขื่อนกันน้ำท่วม ตามแนวชายฝั่งทะเลและแม่น้ำลำคลอง เช่น ศูนย์จัดการน้ำระดับโลก ของไอบีเอ็ม ในอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์ กำลังบุกเบิกเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ในตอนนี้

***จะอยู่นิ่งๆไม่ได้ล่ะนะ"จิสด้า"***

 

เผยแพร่ เมื่อ 12 ก.พ. 2561

        คราวนี้เรามาดูผลงานของเด็กไทย อายุ 10 ขวบ ที่มีชื่อว่าระบบควบคุมจัดการประตูระบายน้ำอัจฉริยะ ที่จะเข้ามาช่วยจัดการ ควบคุม แจ้งเตือน เฝ้าระวัง และติดตามประตูระบายน้ำให้สัมพันธ์กับปริมาณน้ำที่มี จะช่วยลดปัญหาปัญหาน้ำท่วม รวมถึงมีน้ำใช้อย่างพอเพียง
สำหรับระบบควบคุมประตูระบายน้ำอัจฉริยะนี้ เริ่มต้นจากเมื่อก่อนเกิดน้ำท่วมคนจะพายเรือหรือฝ่าน้ำท่วมไปเปิดสวิทซ์ระบายน้ำออก แต่อาจเกิดปัญหาระบายไม่หมดทุกที่ เลยคิดว่าก่อนที่จะเกิดน้ำท่วม ต้องให้ระบบทำการระบายน้ำออกให้หมดก่อน

        ระบบดังกล่าวมีขั้นตอนการทำงานโดยมีคลื่นอัลตราโซนิควัดระดับผิวน้ำ และสั่งเปิดปิดประตูระบายน้ำ
นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังมีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ เซ็นเซอร์วัดเสียง และเซ็นเซอร์วัดแสง ซึ่งจะเป็นตัววัดสภาพอากาศในแต่ละวัน วัดคลื่นเสียงของน้ำ และวัดช่วงเวลา ซึ่งจะทำการวัดค่าต่างๆ พร้อมแจ้งเตือน และสั่งการไปยังประตูกั้นน้ำตามที่เราตั้งค่าระดับน้ำไว้ ซึ่งจะสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง หรือกระจายน้ำไปยังนาข้าวได้

เผยแพร่ เมื่อ 12 ก.พ. 2561

        เราพูดถึงความ Intelligence ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่อการปรับเปลี่ยนประเทศมาหลายวัน ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ สมาชิก พอจะเข้าใจแนวคิดจากตัวอย่างที่ทีมงานได้นำมาให้ดูกันบ้างหรือไม่ หากย้อนไปเมื่อปี 2544 ภาพยนตร์เรื่อง A.I. Artificial Intelligence ใช้ชื่อภาษาไทยว่า "จักรกลอัจฉริยะ" ออกฉาย เป็นภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อให้มนุษย์ทุกคนตะลึง  โดยการสร้างสิ่งมีชีวิตเทียมให้เกิดความรู้สึก มีสติปัญญา มีความคิด มีแขน ขา และมีปฏิกิริยาเหมือนกับมนุษย์ ที่มีชื่อว่าเดวิด เดวิดคือหุ่นยนต์ตัวแรกที่ถูกสร้างขึ้นมา และติดตั้งโปรแกรมเพื่อให้รักเป็น เดวิดซึ่งมีสภาพร่างกาย ความรู้สึกที่ใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด เพื่อเอาใจคนที่ต้องการเพื่อน หรือคู่สามีภรรยาที่ยังไม่มีบุตร เดวิดถูกเลือกให้มาอยู่กับครอบครัวหนึ่ง เพราะว่าลูกชายของครอบครัวนี้ป่วยหนักจนต้องแช่แข็งไว้รอการรักษา การมาอยู่ของเดวิดก็เพื่อต้องการทดแทนลูกชายของครอบครัวนี้ และด้วยความรู้สึก สติปัญญาที่เหมือนมนุษย์ของเดวิดจะทำให้ทุกคนในครอบครัวยอมรับได้หรือไม่ ลองติดตามชมกันดูนะครับ...

เผยแพร่ เมื่อ 13 ก.พ. 2561

        Chatbot เครื่องมือสื่อสารที่ AI จะช่วยให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น “Chatbot” หรือข้อความตอบกลับอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญคือมีการโต้ตอบด้วยภาษาที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ทั้งยังสามารถแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ตอบคำถามได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นด้วยระบบการเรียนรู้ภาษาที่ซับซ้อนกว่าเดิม ยกตัวอย่างโปรแกรม Chatbot ที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน อย่าง Cortana, Siri, หรือ Google Now เหล่านี้ก็ได้ผู้ช่วยที่ชาญฉลาด อย่าง AI เข้ามาช่วย และที่เคยลองใช้ เช่น ถามหาร้านอาหารได้จากโปรแกรมดังกล่าว

เผยแพร่ เมื่อ 13 ก.พ. 2561

        ขนาดรองเท้ายังมีความ Intelligence เลย

เผยแพร่ เมื่อ 15 ก.พ. 2561

สวัสดีครับ วันนี้มารายงานตัวช้าไปนิด 5555
เริ่มกันเลยดีกว่ากับความรู้เกี่ยวกับ GNSS

ระบบ GNSS เป็นระบบดาวเทียมเพื่อกำหนดตำแหน่งของวัตถุที่อยู่บนพื้นโลกให้มีความแม่นยำ ซึ่งในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศในยุโรป ได้มีการนำไปใช้งานแล้ว เช่น รถแทรกเตอร์ รถเกรดพื้นที่ หรือระบบบริหารจัดการท่าเรือ ที่ไม่ต้องใช้คนควบคุม
*** แต่สำหรับประเทศไทย ทั้งหมดนี้ยังเป็นไปไม่ได้ เพราะขาดปัจจัยสำคัญ 2 ส่วน ***

แต่ 2 ส่วนที่ว่านั้นคืออะไร โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ...

 

เผยแพร่ เมื่อ 14 ก.พ. 2561

ความรู้เกี่ยวกับ GNSS...

ปัจจัยสำคัญ 2 ส่วนมีอะไรบ้างเรามาดูกันครับ

          ส่วนที่ 1 ระบบให้บริการค่าปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงตำแหน่งของค่าที่ส่งมาจากดาวเทียม ซึ่งจะทำให้ค่าความคลาดเคลื่อนจากระดับ 5 เมตร เหลือค่าเพียงเซนติเมตร ซึ่งค่าปรับแก้นี้จะมาจากสถานีอ้างอิงแบบต่อเนื่องภาคพื้นดิน หรือ CORS ที่มีอยู่กว่า 100 แห่งทั่วประเทศและจะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 200 แห่งในอีก 2 ปีข้างหน้า

          การใช้งานในปัจจุบันเป็นเพียงการตอบสนองภารกิจของหน่วยงานที่เป็นเจ้าของCORS เท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีศูนย์ข้อมูลค่าอ้างอิงพิกัดแบบต่อเนื่องแห่งชาติเพื่อรวบรวมค่าจาก CORS ของหน่วยงานที่เป็นเจ้าของและนำมาให้บริการแก่ผู้ใช้งานที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ CORS โดยกรมแผนที่ทหารภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน/ระบบดาวเทียมนำทางของประเทศ ได้รับมอบหมาย ให้เป็นผู้ดำเนินงาน

สำหรับส่วนที่ 2 จะเป็นอะไรนั้น พรุ่งนี้ติดตามชมกันนะครับ

 

เผยแพร่ เมื่อ 16 ก.พ. 2561

ความรู้เกี่ยวกับ GNSS...

          ส่วนที่ 2 การส่งเสริมเพื่อให้มีการนำเทคโนโลยี GNSS มาก่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมการใช้งานที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยในเชิงภูมิศาสตร์ ภูมิสังคม ภูมิเศรษฐกิจ ปัจจุบันประเทศไทยมี GNSS Innovation Center ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง วท. โดยจิสด้า และหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนชั้นนำของญี่ปุ่นกว่า 10 หน่วยงานซึ่งตั้งอยู่ที่ SKP อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2561 โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รวท. และมิสเตอร์ชิโร ซาโดจิม่า เอกอัตรราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

          GNSS Innovation Center จะเป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความสัมพันธ์ของผู้ประกอบการ นักพัฒนานวัตกรรม นักลงทุน นักธุรกิจทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนานวัตกรรมต่างๆ อีกทั้งสนับสนุนการนำต้นแบบมาทดลองใช้งานกับพื้นที่นำร่อง และกลุ่มผู้ที่จะทดลองใช้งานนวัตกรรมต้นแบบที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับ GNSS Innovation Center และพื้นที่ EEC ที่ต่อเนื่องกับ SKP

เด่วช่วงบ่ายเรามาดูกันนะครับว่า GNSS Innovation Center มีโซนไหนบ้าง

เผยแพร่ เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2561

เมื่อวานนี้เราพูดถึงคำว่า CORS หลายคนอาจสงสัยว่าคืออะไร งั้นช่วงบ่ายนี้เรามาทำความรู้จักกันนิดนึงละกันครับ

CORS มีชื่อเต็มๆ ว่า Continuously Operating Reference Station หรือ "สถานีรับข้อมูลค่าอ้างอิงพิกัดแบบต่อเนื่องที่ติดตั้งอย่างถาวร" โดยจะรับสัญญาณ GNSS ตลอดเวลา (24 ชั่วโมง 365 วัน) เพื่อนำไปประมวลผลและปรับแก้ค่าพิกัดของสถานีให้มีความถูกต้องมากที่สุด จากนั้นข้อมูลของ CORS จะถูกนำไปใช้ในการอ้างอิงให้เครื่องรับสัญญาณ GNSS ที่ทำงานแบบ realtime มีความถูกต้องและแม่นยำในระดับเซ็นติเมตร

น่วยงานที่เป็นเจ้าของ CORS ได้แก่
1.กรมแผนที่ทหาร
2.กรมที่ดิน
3.กรมโยธาธิการและผังเมือง
4.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
5.สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
6.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ปล. คำว่า CORS เราจะเขียนโดยไม่มี S ก็ได้ แต่ต้องมีคำว่า "สถานี" อยู่ข้างหน้าทุกครั้งนะครับ เช่น สถานี CORE เป็นต้น

 

 

 

เผยแพร่เมื่อ 17 ก.พ. 2561

ห้อง GNSS INNOVATION CENTER ที่ Space Inspirium

http://www.gistda.or.th/main/th/node/2381

 

 

เผยแพร่เมื่อ 18 ก.พ. 2561

นี่คือผลงานจากนักเรียนอาชีวะ กับโครงการอาชีวะสร้างชาติ เกษตรอัจฉริยะ
โดยจิสด้า ได้จัดแข่งขันเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนอาชีวะจากทุกสถาบันทั่วประเทศได้เข้าแข่งขัน ประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อการเกษตรอัจฉริยะ โดยนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาปรับใช้...ติดตามชมครับ
https://www.facebook.com/3mitinews/videos/1832174626815542/

ตัวอย่างระบบ GNSS ที่มีการใช้งาน
สุดยอดนวัตกรรม!! โคราช เปิดตัว #รถแทรกเตอร์ไร้คนขับ คันแรก!! ของโลก

 

เป็นอีก 1 นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบ GNSS มาพัฒนาและใช้ประโยชน์

 

เผยแพร่เมื่อ 19 ก.พ. 2561

ความรู้เกี่ยวกับ GNSS 

 

 

เราลองมาดูคลิปสรุปเกี่ยวกับ GNSS กันหน่อยนะครับ เพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดขึ้นครับ

 

 

ความรู้เกี่ยวกับ GNSS 

GNSS สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือ
พื้นที่ประสบภัยที่อยู่ห่างไกลได้อย่างไร

 

TAG: AIP
Admin 13/2/2561 2025 0
Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง