Head GISDTDA

เตรียมขยายผลแม่แจ่มโมเดล ผลักดันใช้หลักประชารัฐจัดการไฟป่า

          19 เมษายน 2559 ณ ห้องประชุมศรีนคร โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA จัดประชุมหารือ “แม่แจ่มโมเดลพลัส: ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการขยายผลแม่แจ่มโมเดล”ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เน้นการใช้หลักประชารัฐ ซึ่งก็คือความร่วมมือร่วมใจของภาครัฐและประชาสังคม ในการร่วมแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันในพื้นที่แบบมีส่วนร่วม ณ ห้องประชุมศรีนคร โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่
“พื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้ต้นน้ำของประเทศ โดยเมื่อ 10 ปีกว่าที่ผ่านมานี้ พื้นที่แถบนั้นประสบปัญหาไฟป่าอย่างรุนแรงส่งผลให้เกิดหมอกควันปกคลุมหนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ความเสียหายทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รวมไปถึงทัศนวิสัยในการเดินทางไม่ว่าจะเป็นทางรถยนต์หรือทางอากาศ โดยสาเหตุหลักเกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เช่น การเผาป่าในที่โล่ง การเผาขยะมูลฝอยในพื้นที่ชุมชน การเผาเศษวัสดุการเกษตร เช่น ตอซังต้นข้าวโพด ฟางข้าว เพื่อเตรียมพื้นที่การเกษตร ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันวางแผนบรรเทาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเป็นได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งจากความร่วมมือดังกล่าวส่งผลให้พื้นที่อำเภอแม่แจ่ม มีรูปธรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันที่ชัดเจนขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “แม่แจ่มโมเดล” ที่ผ่านมา” ดร.เชาวลิต ศิลปทอง รองผู้อำนวยการ GISTDA กล่าว
          ด้าน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายกสมาคมสำรวจระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์ กล่าวว่า  ถึงแม้ว่าแม่แจ่มโมเดลจะประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในพื้นที่ต้นแบบ แต่การนำวิธีการของแม่แจ่มโมเดลไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ อาจจะประสบกับปัญหาของความไม่พร้อมของแต่ละพื้นที่ ทั้งในแง่ของลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและอื่นๆ การขยายผลแม่แจ่มโมเดลไปยังสถานที่และชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดภาคเหนือซึ่งยังมีปัญหาการเผาพื้นที่การเกษตรนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์ความพร้อมในเชิงพื้นที่ในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติด้านมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของปัญหาหมอกควันในจังหวัดภาคเหนือ ประกอบกับเทคโนโลยีและระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สถาบันการศึกษาและวิจัย หน่วยงานเอกชนที่มีเทคโนโลยีหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงหน่วยงานของรัฐด้านการปกครอง ด้านป่าไม้ ด้านการเกษตร ด้านการพัฒนาพื้นที่สูง ด้านการพัฒนาชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน หรือแม้แต่องค์กรภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรในพื้นที่สูง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหน่วยงานส่งเสริมและขับเคลื่อนการแก้ปัญหาการเผาวัสดุการเกษตรและไฟป่าในพื้นที่สูงตามหลักประชารัฐ ซึ่งได้รวบรวมไว้สำหรับพื้นที่ภาคเหนือในปัจจุบันน่าจะมีความพร้อมในระดับหนึ่งในการพัฒนาให้เป็นโซลูชั่นเชิงพื้นที่เพื่อใช้ประกอบการประเมินศักยภาพและความพร้อมของพื้นที่และชุมชนในพื้นที่สูงในจังหวัดต่างๆ ที่มีปัญหาไฟป่าหมอกควันเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะทำให้การชี้เป้าและขยายผลแม่แจ่มโมเดลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการส่งเสริมพื้นที่ที่อาจจะยังไม่มีความพร้อมในปัจจุบันให้มีการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ก่อนที่จะนำแนวคิดของแม่แจ่มโมเดลไปประยุกต์ใช้ในระยะต่อไป แนวทางดังกล่าวอาจเรียกได้ว่า “แม่แจ่มโมเดลพลัส” ซึ่งจะเป็นเครื่องมือกลางให้ทุกภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการไฟป่าทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการใช้งานเพื่อลดปัญหาการเผาวัสดุการเกษตรและไฟป่าในพื้นที่สูงในเขตภาคเหนืออย่างยั่งยืน ถือเป็นการบริหารจัดการเชิงรุกที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อบรรเทา

Admin 27/4/2016 0
Share :