Head GISDTDA

จุดความร้อนไทยวานนี้ลดลงจากวันก่อนเหลือ 2,082 จุด...พื้นที่ป่าอนุรักษ์ก็ลดแต่ยังพบมากที่สุด 1,137 จุด

  GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของวันที่ 3 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อน จำนวน 2,082 จุด ในขณะที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์นำโด่งแตะจำนวน 5,040 จุด สปป.ลาว 2,191 จุด กัมพูชา 1,642 จุด เวียดนาม 214 จุด และมาเลเซีย 2 จุด

  สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 1,137 จุด, พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 436 จุด, พื้นที่เกษตร 211 จุด, พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ 160 จุด, พื้นที่เขต สปก. 128 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 10 จุด ในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 3 อันดับคือ #กาญจนบุรี 422 จุด, #ตาก 185 จุด #ลำพูน 107 จุด ตามลำดับ 

  ส่วนค่าฝุ่น PM2.5 เมื่อตรวจสอบจากแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” เมื่อเวลา 10:00 น. พบว่าในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ อาทิ #แม่ฮ่องสอน #เชียงใหม่ #เชียงราย #ตาก #น่าน #พะเยา #ลำพูน #เลย #ลำปาง อยู่ระดับสีแดงที่สูงกว่า 100 ไมโครกรัม ซึ่งมีผลต่อสุขภาพ ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพมหานคร อยู่ระดับปานกลางจนถึงเริ่มจะมีผลต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ก่อนออกจากบ้านควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจที่อาจจะตามมา

  สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THEOS-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

phasaphong.tha 4/3/2023 0
Share :