Head GISDTDA

จิสด้าจัดประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์อวกาศและการสำรวจอวกาศ ครั้งที่ 1 หวังกระตุ้นให้สังคมไทยเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัยในอวกาศ

มนุษยชาติได้เข้าสู่ช่วงยุคของอวกาศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 เมื่อสหภาพโซเวียตได้พัฒนาและส่งดาวเทียมสปุตนิก 1  ขึ้นสู่วงโคจร นับตั้งแต่นั้นก็เป็นช่วงเวลารุ่งเรืองที่เทคโนโลยีด้านต่างๆ ได้ถูกพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายของแต่ละประเทศที่ต้องการสร้างความมั่นคง รวมถึงเพิ่มความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและรายได้อันเป็นผลพวงมาจากนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาครึ่งศตวรรษ ดาวเทียม   หลายร้อยดวงถูกส่งขึ้นพ้นแรงโน้มถ่วงของโลกเพื่อทำหน้าที่ในการสำรวจโลก  การสื่อสาร และการศึกษา สถานีอวกาศ       ถูกก่อสร้างและดำเนินการวิจัยวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นบนโลก ยานสำรวจอวกาศมากมายถูกส่งไปยังดวงจันทร์และดาวเคราะห์ใกล้เคียงเพื่อพยายามเติมเต็มคำตอบว่าจักรวาลที่โลกเราเป็นส่วนหนึ่งนั้น       มีลักษณะที่แท้จริงอย่างไร
ในการสำรวจอวกาศนั้น การศึกษาและทำความเข้าใจถึงสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (microgravity) จัดเป็นรากฐานสำคัญซึ่งต้องการการเรียนรู้และค้นคว้าวิจัยถึงสภาวะแวดล้อมอวกาศรวมทั้งผลที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีการดำเนินการศึกษาด้านอวกาศมากนัก และยังไม่มีนโยบายด้านการสำรวจอวกาศที่ชัดเจน ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติจึงได้จัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติปี 2560 – 2579 ขึ้น โดยประกอบด้วยยุทธศาสตร์ใน 7 ด้าน คือ 1. การพัฒนากิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง 2. กิจการอวกาศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอวกาศ  4. การบริหารโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศของประเทศ 5. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอวกาศ  6. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน และ 7. การพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ
ในการดำเนินการส่วนยุทธศาสตร์ที่ 5 เป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องการสนับสนุนให้เกิดการกำหนดนโยบายด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอวกาศที่ชัดเจน เพื่อให้มีการจัดการการพัฒนาองค์ความรู้ และบุคลากรด้านอวกาศที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุม รวมถึงรองรับการเข้าไปมีส่วนร่วมในการวิจัยและสำรวจอวกาศกับต่างประเทศซึ่งเป็นนโยบายสำคัญอันเป็นหนทางให้ประเทศไทยได้ก้าวสู่ส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมอวกาศและการสำรวจอวกาศต่อไป
ด้วยตระหนักถึงความจำเป็นของงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า จึงได้ร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เริ่มดำเนินโครงการทดลอง   ในอวกาศและสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง National Space Exploration (NSE) ตั้งแต่ปี 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสำคัญของการทดลองและการสำรวจอวกาศ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความชำนาญด้านอวกาศในบรรดาผู้เชี่ยวชาญชาวไทยในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดการให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีอวกาศเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
จึงจัดให้มี “การประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์อวกาศและการสำรวจอวกาศ ครั้งที่ 1 : The 1st Thailand Space Science & Exploration Forum (1st TSEF)” ระหว่างวันที่ 1 - 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 08:00 – 16:00 น. ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทารา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ภายใต้งานประชุมวิชาการ GEOINFOTECH ประจำปี 2561 โดยมีความมุ่งหวังให้งานประชุมวิชาการ 1st TSEF เป็นกิจกรรมสำคัญในการสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้ประโยชน์จากห้วงอวกาศให้เกิดขึ้นในสังคมไทย สนับสนุนงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ เป็นการตอบสนองต่อ (ร่าง) ยุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติ 2560 - 2579 ของประเทศในสาขาการพัฒนาด้านงานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการทดลองในอวกาศและสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงของจิสด้า และการเปิดรับข้อเสนองานวิจัย เพื่อทดลองในอวกาศ ประจำปี 2561 รวมทั้งเป็นการแสดงบทบาทสำคัญของจิสด้าในการให้การสนับสนุนกับภารกิจด้านงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมอวกาศของประเทศไทย ตลอดจนนำไปสู่การเติบโตของอุตสาหกรรมอวกาศอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนองานวิจัย องค์ความรู้ และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ     ในประเทศไทย
2. เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยและผู้สนใจชาวไทยได้รับทราบความก้าวหน้าทางด้านอวกาศจากองค์กรอวกาศต่างประเทศ
3. เพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัยอวกาศ และเกิดการสนับสนุนกิจกรรม        ด้านอวกาศต่างๆ ของประเทศไทย
4. เพื่อประกาศและแสดงความจำนงการให้การสนับสนุนการวิจัยและสำรวจห้วงอวกาศลึกโดยจิสด้า
5. เพื่อประชุมหารือนักวิจัยและอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติด้านการสำรวจอวกาศ และจะนำไปสู่การกำหนดทิศทางด้านการพัฒนาอวกาศของประเทศไทย

สนใจ...คลิกลงทะเบียนได้เลย
https://goo.gl/forms/ZJ6ASIV15uqQhYj72

Admin 19/1/2561 764 0
Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง