Head GISDTDA

AIP Online โค้งสุดท้าย กับ สปภ.

AIP Online โค้งสุดท้าย กับ สปภ.
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 เวลา 09:30 – 11:00 น. หน.กลุ่มภารกิจพิเศษด้าน AIP พร้อมคณะ เข้าร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และทำความเข้าใจเรื่อง AIP ร่วมกับ ผอ. และเจ้าหน้าที่ สำนักประยุกต์และบริการภูมิสารสนเทศ (สปภ.) จำนวน 57 คน ผ่านระบบ Google Meet โดยในการสื่อสารและร่วมแลกเปลี่ยนดังกล่าว ได้มีการพูดคุยกันในหลายประเด็นที่เกี่ยวกับ AIP  นิยามของ AIP  กระบวนการดำเนินงานของ AIP ความคืบหน้าการดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมายอย่าง EEC และน่าน ภายใต้โครงการ THEOS2 รวมถึงการทำ AIP เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านสาธารณะสุขในเรื่องของ COVID-19 โดยการหารือดังกล่าวมีการร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็น 

  1. ปลายทางของ AIP แต่ละ Project จะอยู่ในรูปแบบอะไร
  2. ช่องทางที่ Policy Maker จะนำ AIP ไปใช้เป็นช่องทางไหน
  3. สปภ. ต้องมีงาน Operation ที่เพิ่มขึ้นใช่หรือไม่ และต้องมาพิจารณาว่างานนั้นเหมาะกับทีมไหนใช่หรือไม่
  4. AIP ต้องไปนำเสอให้กับในทุกที่เลยใช่หรือไม่
  5. ในการประเมินด้านนโยบาย จะใช้ AIP เป็นเครื่องมือประเมินในรูปแบบไหนที่ถือว่าสำเร็จ
  6. AIP มีแผน ในระยะ 1-5 ปี มองเพื่อตอบโจทย์ด้านนโยบาย ที่เป็น Megaprojects ที่เป็นไปตาม SDG หรือไม่
  7. จากประสบการณ์ที่เริ่มทำมา หน่วยงานสุดท้ายที่จะนำไป Create เป็น Policy มีเพิ่มขึ้น ทาง AIP มีการ Approach อย่างไร และสามารถร่วมทำหรือนำสิ่งที่ AIP ทำไปใช้ได้หรือเปล่า
  8. งาน และโครงสร้างของ AIP อยู่ภายใต้ THEOS2 ใช่หรือไม่ ซึ่งมองว่า การทำ AIP คล้ายกับ Project Base กับงาน Functions ที่ทำอยู่ แล้วในอนาคต THEOS2 หมดสัญญา AIP จะรวมกับงาน Function ใช่หรือไม่
  9. AIP ปรับแก้โควิดได้ไหมในตอนนี้ เพราะมีข้อมูลที่เราทำอยู่แล้ว อาจทำในเขต EEC เป็นโมเดลได้
  10. Concept AIP เน้นไปทางด้านการสร้างนโยบายและสร้างคุณค่าจาก GI ถ้าในอนาคต Project ค่อนข้างที่จะ Success ซึ่งในแต่ละ Project จะต้องมีแบบจำลอง โมเดล องค์ความรู้ เราสามารถนำออกมาสร้างคุณค่าได้หรือไม่

ข้อเสนอแนะจากการหารือ

  1. ในส่วนของ Dashboard มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ จำเป็นต้องมีหลักฐาน หรือสมุติฐานที่เชื่อถือได้มารองรับ
  2. AIP มี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 AIP เพื่อตอบ THEOS2 ส่วนที่ 2 เป็นการขับเคลื่อนเชิงของนโยบาย แต่ถ้า AIP มีความชัดเจนในเรื่องของกลไกในการทำงาน ในปัจจุบัน หน่วยงานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) เทคโนโลยีเราไปช่วยอะไรเขาได้ 2) Ratification ซึ่งถ้าหากมีการเพิ่มเติมในส่วนนี้ทาง AIP น่าจะขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  3. แนวทางของการที่จะ Identify หรือ Priority ของการที่จะขับเคลื่อน AIP หากมีความชัดเจนจะทำให้เกิดประโยชน์
Admin 25/7/2564 0
Share :