ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ สุริยุปราคา กันก่อนครับ ปรากฏการณ์การเกิดสุริยุปราคา หรือ Solar Eclipse เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยเป็นประจำทุกปี และที่สำคัญเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น โดยเกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกทำให้เงาของดวงจันทร์ตกมายังบนโลก ส่วน สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลกอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โลกก็โคจรไปรอบดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกัน ทำให้เงามืดที่ตกบริเวณโลกเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วจากตะวันตกไปตะวันออกในระยะเวลาสั้นๆนั่นเองครับ
ต่อไปเรามารู้จักการเคลื่อนที่ของดาวเทียมไทยโชตกันบ้าง... “ไทยโชต” เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของไทยที่โคจรรอบโลกจึงมีความเป็นไปได้ที่จะโคจรผ่านเงามืดและเงามัวในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าว แล้วจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง เราคงต้องมาทำความเข้าใจกับการทำงานของดาวเทียมไทยโชตก่อนครับ
ในการโคจรรอบโลก 1 วงรอบ ดาวเทียมไทยโชตจะมีการทำงาน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
ดังนั้น ในกรณีที่ดาวเทียมไทยโชตเคลื่อนผ่านในช่วงเวลาที่เกิดสุริยุปราคา สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ดาวเทียมกำลังตั้งค่าตัวเองอยู่ในโหมด Sun Pointing ซึ่งก็คือกำลังหันแผงโซล่าเซลล์เข้าหาดวงอาทิตย์ แต่ในช่วงการเกิดสุริยุปราคาจะไม่มีแสงอาทิตย์ เนื่องจากเกิดเงาของดวงจันทร์กำลังบังแสงอาทิตย์พอดี เมื่อไม่ได้รับแสงอาทิตย์ตามที่คาดหวังไว้ ดาวเทียมจึงเข้าใจว่าจะต้องมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น จึงเริ่มกระบวนการป้องกันตัวเองจากเหตุที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ โดยจะทำการปิดตัวเองเพื่อความปลอดภัย หรือเข้าสู่สภาวะ Safe mode เพื่อจะปิดระบบที่สำคัญ เพื่อรักษาระบบให้ปลอดภัยไว้ก่อนเป็นอันดับแรก เช่น การปิดระบบการถ่ายภาพ (Payload) , การปิดระบบ GPS เป็นต้น ดังนั้น เมื่อดาวเทียมเข้าสู่สภาวะ Safe mode จะส่งผลให้ดาวเทียมไม่สามารถถ่ายภาพได้ในช่วงเวลาดังกล่าว
ทั้งนี้ หากดาวเทียมทำการตรวจวัดอุปกรณ์ตรวจวัดดวงอาทิตย์ (Course Sun Sensor) ก็จะมีการตรวจสอบข้อมูลทุก 5 นาที เมื่อดาวเทียมผ่านสุริยุปราคาที่มีเวลาระยะมากกว่า 5 นาที จะทำให้ดาวเทียมเข้าสู่ Safe mode ได้
ดังนั้น เมื่อพบว่าจะมีเหตุการณ์ที่ดาวเทียมไทยโชตจะเคลื่อนที่ผ่านบริเวณที่จะเกิดสุริยุปราคา ทีมปฏิบัติการวิเคราะห์วงโคจร จะทำตรวจสอบว่าดาวเทียมจะมีการเคลื่อนผ่านสุริยุปราคาในวันและเวลาใด เพื่อให้ทีมปฏิบัติการควบคุมดาวเทียม ขยายระยะเวลาการตรวจวัดของอุปกรณ์ตรวจวัดดวงอาทิตย์ออกไปให้มากกว่าระยะเวลาการเคลื่อนผ่านสุริยุปราคา เพื่อให้ดาวเทียมมีระยะเวลาการตรวจสอบข้อมูลของอุปกรณ์ตรวจวัดดวงอาทิตย์ (Course Sun Sensor) ให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้ดาวเทียมเข้าสู่สภาวะ Safe mode นั่นเองครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
นายอัฐราวุฒิ เดชผล
วิศวกรชำนาญการควบคุมดาวเทียม
#จิสด้า #GISTDA #จิสด้าก้าวสู่ปีที่21 #ดาวเทียม #สุริยุปราคา
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GISTDA
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GISTDA