Head GISDTDA

รู้จักกับ..!! การติดตามดาวเทียมโดยใช้การอ้างอิงตำแหน่งในระบบจานสายอากาศ

การติดตามดาวเทียมโดยใช้การอ้างอิงตำแหน่ง

วันนี้แอดมินนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการอ้างอิงตำแหน่งของดาวเทียมมาฝากกันครับ หลายคนคงเคยได้ยินชื่อของAzimuth angle และ Elevation angle กันมาบ้างงแล้ว ซึ่งเป็นพิกัดมุมที่ใช้เพื่อระบุตำแหน่งของดาวเทียมที่โคจรอยู่เหนือศีรษะ โดยอ้างอิงจากตำแหน่งของผู้สังเกต (ซึ่งในกรณีนี้ผู้สังเกตก็คือจานสายอากาศ) นั่นเองครับ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Azimuth angle กันก่อน ซึ่งก็คือ มุมกวาดที่จานสายอากาศทำการกวาดไปในแนวพื้นราบ (horizontal) เพื่อให้เล็งเห็นดาวเทียม โดยนับเริ่ม 0° ที่ทิศเหนือ และกวาดไปตามเข็มนาฬิกาในแนวพื้นราบจนกลับมาครบรอบที่ทิศเหนือที่ 360° หรือคือ 0° นั่นเองครับ ส่วน Elevation angle คือ มุมเงยที่จานสายอากาศทำการเงยขึ้นทำมุมกับระนาบแนวพื้นราบเพื่อให้เล็งเห็นดาวเทียม โดยนับเริ่ม 0° ในขณะที่จานสายอากาศ ทำมุม 0° กับระนาบแนวพื้นราบ หรือขนานกับแนวพื้นราบนั่นเอง โดยที่มุมเงยจะมีค่ามากที่สุดที่ 90° เมื่อเงยจานสายอากาศตั้งฉากกับระนาบแนวพื้นราบ

ในระบบจานสายอากาศเองจะต้องสามารถคำนวณเพื่อทำนายแนวโคจรเมื่อดาวเทียมโคจรเข้ามาในพื้นที่ครอบคลุมของการรับสัญญาณ และจะทำการสั่งให้จานรับสัญญาณทำการติดตาม (Tracking) ดามเทียมไปตามแนวโคจรของดาวเทียม โดยมีพิกัดอ้างอิงเป็นมุม Azimuth และ มุม Elevation ซึ่งพารามิเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณเพื่อทำนายแนวโคจรของดาวเทียมมีหลายรูปแบบด้วยกัน แต่รูปแบบที่นิยมกันและ GISTDA ใช้งานอยู่คือรูปแบบที่เรียกว่า Two-Line Element หรือ TLE (รูปแบบของกลุ่มตัวเลขเรียงกันสองบรรทัด ที่นำมาใช้ในการทำนายตำแหน่งและวงโคจรของดาวเทียม และวัตถุที่โคจรรอบโลก) นั่นเองครับ
# ในคราวหน้าเราจะมาดูกันว่าจานสายอากาศจะทำการติดตามดาวเทียมเพื่อทำการรับสัญญาณข้อมูลได้อย่างไร?

 

ขอบคุณข้อมูลจาก 
ทศพล ชินนิวัฒน์  วิศวกรชำนาญการ
#gistda #gistdaก้าวสู่ปีที่21 #จิสด้า #อว #กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #mhesi #spacetechnology #NewSpaceEconomy #อวกาศ #พัฒนาดาวเทียม #วิศวกรไทย #คนไทยทำได้

Admin 17/9/2564 2334 0
Share :