Head GISDTDA

GISTDA มุ่งมั่นผลักดันโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมอวกาศไทย

หนึ่งในภารกิจหลัก GISTDA คือการผลักดันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมและอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศไทย ซึ่งในวันนี้ เราจะฉายภาพภารกิจของ GISTDA กับเส้นทางสุดขอบฟ้าเพื่อยกระดับประเทศไทยสู่อุตสาหกรรมอวกาศระดับโลก

 

พัฒนามาตรฐานการผลิตอุตสาหกรรมอวกาศไทย

   หนึ่งในหัวใจหลักเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมอวกาศอย่างยั่งยืนคือการสร้างมาตรฐานการทำงานที่ตอบโจทย์ระดับสากล GISTDA จัดตั้ง GALAXI Lab มาประมาณ 5 ปี โดยมีภารกิจหลักในการออกแบบ ผลิต ทดสอบวัสดุด้านการบินและอวกาศ ซึ่งได้รับการรับรอง 3 มาตรฐาน คือ มาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2017 มาตรฐานด้านการบิน NADCAP AC7122 (Non-Metallic Material Testing) และ มาตรฐานการจัดการคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรม Aerospace (AS9100D) ซึ่ง GALAXI Lab นี้ ถือว่าเป็น Lab รัฐบาลแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้มาตรฐาน NADCAP มีการให้บริการ 2 ส่วน คือ Material Testing เน้นทดสอบ Raw Material ให้กับบริษัท Aerospace ในประเทศไทย และ Saccharide Testing ปัจจุบัน GALAXI Lab ได้รับการยอมรับจากนานาชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ มีบริษัทจากประเทศอังกฤษเข้ามา Visitation Testing

 

พัฒนาเทคโนโลยีระบบอวกาศ

   ในระบบอวกาศ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยควบคุมการทำงานและบริหารระยะไกลระดับนอกโลก จำเป็นต้องอาศัยความแม่นยำในการวางแผนและวางระบบอย่างถี่ถ้วน GISTDA ได้จัดตั้งศูนย์ Astrodynamics Research Laboratory หรือ Astro Lab มุ่งเน้นการวิจัยด้านกลศาสตร์วงโคจรในอวกาศ เช่น ซอฟต์แวร์ระบบควบคุมดาวเทียม ระบบเตือนภัยจากอวกาศ ระบบการจัดการจราจรอวกาศ ระบบเตือนภัยอุกกาบาตที่มีความเสี่ยงที่จะชนโลก และระบบพยากรณ์อวกาศที่เป็นต้นแบบ เพื่อให้บริการกับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

 

พัฒนาการทดสอบดาวเทียม

   Assembly Integration and Test หรือ AIT เป็นศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียมภายใต้โครงการ THEOS-2 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศที่สำคัญของประเทศ เป็นศูนย์ที่มีความทันสมัยภายใต้มาตรฐานสากล ที่สามารถรองรับการทดสอบดาวเทียมเล็กของประเทศไทย รวมไปถึงรองรับการพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์ สร้าง ประกอบ ทดสอบดาวเทียมประเภทอื่นๆที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 10-500 กิโลกรัม และสามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมดาวเทียมของโลกในอนาคตได้ด้วย ภายในศูนย์จะมีห้องวิจัยและพัฒนาดาวเทียมระบบห้องสะอาดควบคุมอนุภาค (Clean Room) อุปกรณ์ Thermal Cycling, Mass Property Measurement, Vibration Test และ Thermal Vacuum Chamber ซึ่งเป็นอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการพัฒนาดาวเทียม (Test Bench)

 

เป้าหมาย SPACEPORT … ไม่ไกลเกินเอื้อม

   การพัฒนา SPACEPORT จะนำไปสู่การสร้างอุตสาหกรรมอวกาศภายในประเทศอีกหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น การผลิต การซ่อมบำรุง และการพัฒนาชิ้นส่วนอวกาศต่าง ๆ รวมถึงการจ้างงาน และด้วยประเทศไทยมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม และมีตำแหน่งใกล้เส้นศูนย์สูตร เมื่อมีการกำหนด Drop Zone และ Safe Zone พื้นที่ใกล้ทะเลจึงถือเป็นตำแหน่งที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็น SPACEPORT ได้ โดยขณะนี้ GISTDA อยู่ระหว่างการประเมินความเป็นไปได้และศึกษาข้อมูลในภาพรวม ตลอดจนความร่วมมือกับนานาชาติในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ร่วมกัน

   ดังนั้น โครงการ THEOS-2 ถือว่าเป็นประตูสำคัญเปิดสู่การพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรมอวกาศไทยทั้งด้านโครงสร้าง บุคลากร นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ

amorn.pet 27/5/2565 583 0
Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง