Head GISDTDA

ดาวเทียมหลักของ THEOS-2 จะถ่ายภาพได้แบบไหนบ้าง...???

ดาวเทียมหลักของ THEOS-2 จะถ่ายภาพได้แบบไหนบ้าง...???
THEOS-2: The best Very High Resolution Imagery of Thailand

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วแอดมินพาชาวแฟนเพจไปรู้จักกับเรื่องราวของ “ระบบ DIGINEO ที่มีความเกี่ยวข้องกับดาวเทียม” (https://www.facebook.com/gistda/photos/a.10152037160121265/1015903652130...) เราได้ทราบกันไปแล้วว่า ระบบ DIGINEO ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ CGS: Control Ground Segment, MGS: Mission Ground Segment และ IGS: Image Ground Segment วันนี้เรามาเจาะลึกกันในส่วนที่ 2 นั่นก็คือ MGS: Mission Ground Segment นั่นเองครับว่า THEOS-2 MainSat นั้น จะมีความสามารถสั่งถ่ายภาพแบบใดได้บ้าง สงสัยกันใช่มั้ยครับ..?? 

สำหรับดาวเทียม THEOS-2 MainSat หรือดาวเทียมหลักTHEOS-2 นั้นสามารถสั่งถ่ายภาพได้ถึง 4 รูปแบบด้วยกันคือ

  •  รูปแบบ SPOT เป็นการถ่ายภาพเฉพาะจุด โดยแต่ละภาพจะมีความกว้างและยาว เท่ากับแนว Swath Width นั่นคือขนาด 10.3.x 10.3 กิโลเมตร ลองจินตนาการตามดูนะครับระยะทาง 10 กิโลเมตรจะไกลขนาดไหน
  •  รูปแบบ Long Strip เป็นการถ่ายภาพตามแนวยาว ของ Orbit (วงโคจร เส้นทางโคจร) โดยมีความกว้าง 10.3 กิโลเมตร และแต่ละแนวสามารถยาวได้ถึง 200 กิโลเมตร
  •  รูปแบบ Tri-Mosaic เป็นการถ่ายภาพตามแนวยาว โดยสามารถถ่ายภาพได้ 2-3 แนวขนานกัน เพื่อให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น โดยทั้ง 3 แนวจะมีส่วนที่ซ้อนทับกัน ทำให้ได้ภาพที่มีความกว้างถึง 29 กิโลเมตร และมีความยาว 100 กิโลเมตร
  •  และรูปแบบสุดท้ายคือรูปแบบ Tri-Stereo เป็นการถ่ายภาพเฉพาะจุด พื้นที่เดียวกันจำนวน 3 ครั้ง เพื่อนำภาพที่ได้ไปสร้างแบบจำลองความสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model: DEM) นั่นเองครับ

นอกจากนี้แล้ว...ในทางเทคนิคยังมีการวางแผนการเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายภาพอีกด้วย ซึ่งเทคนิคที่ใช้ก็จะมี 3 รูปแบบหรือ 3 เทคนิคด้วยกันดังนี้

  •  Slalom เป็นเทคนิคการถ่ายภาพแบบ SPOT โดยในระยะทาง 1,000 กิโลเมตร จะสามารถถ่ายภาพได้ 6 จุด ซึ่งทั้ง 6 จุดถ่ายภาพจะต้องอยู่ในแนวการเอียงตัว (Roll) ไม่เกิน +- 10 องศา
  •  Continuous strip เป็นเทคนิคการถ่ายภาพแบบ Long Strip โดยสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้สูงสุด 5 แนว หรือมีความยาวที่ 1,000 กิโลเมตร
  •  และเทคนิคสุดท้ายด้วยวิธี Mosaic เป็นเทคนิคการถ่ายภาพแบบ Tri-Mosaic ทำให้ได้ภาพที่มีความกว้างถึง 29 กิโลเมตร และมีความยาว 100 กิโลเมตร นั่นเองครับ

สำหรับหลักการถ่ายภาพแอดมินคิดว่าผู้ที่ชื่นชอบในการถ่ายภาพอยู่แล้วคงจะเข้าใจมากขึ้นนะครับในความเป็นจริงแล้วดาวเทียมถ่ายภาพก็คล้ายกับกล้องถ่ายรูปทั่วๆไป เพียงแค่แตกต่างกันในเรื่องของการสั่งการ การควบคุม การใช้งาน หากเราวางแผนผิดพลาดเราก็จะไม่ได้ภาพในพื้นที่ที่เราต้องการ ตัวอย่างเช่น เราต้องการภาพบริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย แต่ถ่ายแล้วกลับได้ภาพในพื้นที่บริเวณประเทศกัมพูชามาแทนนั่นแสดงว่าเกิดความผิดพลาดและความเสียหายตามมา  เพราะฉะนั้นการถ่ายภาพด้วยดาวเทียมจะต้องมีการวางแผนและใช้เทคนิคในการสั่งถ่ายให้เกิดความแม่นยำมากที่สุด การสั่งถ่ายทุกครั้งจะต้องคุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับ และที่สำคัญคุณภาพของดาวเทียมจากธีออส 2 มีคุณภาพสูงกว่าเก่าค่อนข้างมากเลยทีเดียวครับ     แอดมินคิดว่าหลาย ๆ ท่านคงอดใจไม่ไหวแล้ว อยากจะใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียมหลักธีออส 2  เร็วๆ ขอบอกเลยว่าไม่เกินกลางปี พ.ศ. 2565 เราจะได้ใช้ข้อมูลกันอย่างแน่นอนครับ .....ขอบคุณสำหรับการติดตามสาระดีๆจากทาง GISTDA คลังความรู้นอกห้องเรียนอีกแห่งที่จะช่วยเติมเต็มในสิ่งที่ชาวแฟนเพจอยากรู้.. สงสัย...เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ  แล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้าครับ...

.
ขอบคุณข้อมูลจาก
ว่าที่ร้อยตรีประสิทธิ์ มากสิน
นักเทคโนโลยีอวกาศชำนาญการ
กลุ่มกรรมวิธีข้อมูลดาวเทียม ภายใต้ กลุ่มภารกิจพิเศษปฏิบัติการดาวเทียมภาคพื้นดิน
#GISTDA #จิสด้า #จิสด้าก้าวสู่ปีที่21 #THEOS2   #THEOS2เป็นของคนไทยทุกคน

Admin 17/6/2564 0
Share :