Head GISDTDA

การปรับวงโคจรดาวเทียมสามารถทำได้ ด้วยสาเหตุหลายประการ

การปรับวงโคจรดาวเทียมสามารถทำได้ ด้วยสาเหตุหลายประการ

การเปลี่ยนวงโคจรหลังจากแยกตัวจากจรวดนำส่งเพื่อให้ไปสู่วงโคจรที่ปฏิบัติงาน :

ซึ่งจะเป็นหนึ่งในระยะที่สำคัญของการปฏิบัติภารกิจดาวเทียม การปรับวงโคจรแบบนี้เรียกว่า “Launch and Early Orbit phase (LEOP)”

 

การปรับวงโคจรเพื่อให้ดาวเทียมรักษาอยู่ในวงโคจรที่ปฏิบัติ :

การปรับนี้เนื่องจากแรงที่มากระทำในอวกาศต่างๆ เช่น แรงดึงดูดจากพระอาทิตย์และพระจันทร์ แรงจากลมสุริยะ แรงเสียดทานจากบรรยากาศ เป็นต้น แรงเหล่านี้ทำให้วงโคจรของดาวเทียมมีการเปลี่ยนแปลงไป การปรับวงโคจรแบบนี้เรียกว่า “Orbit maintenance maneuver”

 

การปรับวงโคจรเพื่อหลบเลี่ยงการชนกับวัตถุอวกาศ :

ในอวกาศมีขยะอวกาศ (ดาวเทียม เศษซากจรวด ที่เสร็จสิ้นภารกิจแล้ว หรือเศษหินในอวกาศ หรือ เศษซากดาวเทียมหรือจรวดที่เกิดจากการชนกันในอวกาศ) ที่โคจรอยู่บริเวณโลก ด้วยความเร็ววงโคจรที่สูงสามารถสร้างความเสียหายให้กับดาวเทียมหรือยานอวกาศได้อย่างมาก แม้จะชิ้นเล็กก็ตาม การปรับวงโคจรแบบนี้เรียกว่า “Collision avoidance maneuver”

 

การปรับวงโคจรเพื่อให้ตกกลับสู่โลก :

ปัจจุบันจำนวนขยะอวกาศมีสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มที่จะหนาแน่นมากอย่างมีนัยสำคัญในอนาคตอันใกล้ องค์การสหประชาชาติมีการกำหนดแนวทางให้ดาวเทียมที่เสร็จสิ้นภารกิจเรียบร้อย ควรจะตกกลับมาสู่โลกภายใน 25 ปี หรือ กรณีที่อยู่ไกลจากโลกมาก ควรจะเปลี่ยนวงโคจรไปอยู่บริเวณสุสานดาวเทียมในอวกาศ การปรับวงโคจรแบบนี้เรียกว่า “controlled entry maneuver”

 


ขอบคุณข้อมูลจาก ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน

นักวิจัยชำนาญการและหัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอวกาศด้านกลศาสตร์วงโคจรของประเทศไทย หรือ Astrolab ของ GISTDA

#GISTDA #จิสด้า #ก้าวสู่ปีที่21 #space #Astrolab #การปรับวงโคจรดาวเทียม #วงโคจร

Admin 6/8/2564 0
Share :