Head GISDTDA

การวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศ ตอนที่2

ต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้านี้ได้กล่าวไปถึงความสำคัญของ #การวิจัยขั้นสูงเกี่ยวกับระบบโลกและอวกาศ (Earth Space System : #ESS) ที่มีความเชื่อมโยงและส่งอิทธิพลซึ่งกันและกันตามหลักของธรรมชาติ โดยเป็นแนวทางการศึกษาออกเป็น 3 แนวทาง ได้แก่ Extreme Nature Resilience, Space Impact on Earth และ Deep Space Exploration & Space Utilization เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

จากการระดมความคิดเห็นของ #ประชาคมวิจัยด้านระบบโลกและอวกาศ เพื่อกำหนดและวางรากฐานการวิจัยภายใต้แนวทางการศึกษาทั้ง 3 นั้น มีวิทยาศาสตร์ขั้นสูงทั้งหมด 7 ศาสตร์ อันจะเป็นพื้นฐานองค์ความรู้ที่สำคัญที่จะต่อยอดให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และนำไปสู่การส่งเสริมการพัฒนาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีอีกระดับหนึ่ง โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมอวกาศของไทย

  1. #Biogeochemistry #cycle เป็นการศึกษา วัฎจักรและพลวัตของสสาร ธาตุ ต่างๆ ในโลกทั้งที่เกิดตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เนื่องจากวัฎจักรเหล่านี้ส่งผลกระทบทั้งพื้นดิน พื้นน้ำ และสภาพบรรยากาศ การศึกษาในด้านนี้ทำให้ เกิดความเข้าใจผลกระทบต่อธรรมชาติระยะยาวจากกิจกรรมของมนุษย์ นำมาสู่มาตราการการป้องกันและฟื้นฟูธรรมชาติอย่างเหมาะสม
  2. #Geo-#Hazard #Prediction เป็นการศึกษาพื้นผิวดินของโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งจากน้ำฝน น้ำใต้ดิน ลม อุณหภูมิ และกิจกรรมของมนุษย์  รวมไปถึงการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกจากของเหลวภายใต้ผิวโลก ซึ่งการศึกษาจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ความเข้าใจต่อระบบของโลก ลดความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย
  3. #Oceanography and #Polar #Science เป็นการศึกษาท้องทะเล มหาสมุทร และพลวัตรของมหาสมุทร เช่น กระแสน้ำ อุณหภูมิน้ำทะเล ความเป็นกรด รวมไปจนถึงสารละลายในมหาสมุทร งานวิจัยนี้มีความสลับซับซ้อนในแง่ความสัมพันธ์ของรายละเอียดต่างๆ แต่นำมาซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับท้องทะเลไทย เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรและรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

การศึกษาสภาพขั้วโลกเพื่อเฝ้าตรวจการเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งที่ขั้วโลกอันจะส่งผลกระทบถึงระดับน้ำในมหาสมุทร และด้วยการที่ไร้สิ่งรบกวนในภูมิภาคนี้ ทำให้บริเวณนี้เป็นแหล่งเก็บข้อมูลสภาพอากาศในอดีตของโลกไว้อีกด้วย นับว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญต่อความเข้าใจระบบของโลกอีกด้านหนึ่ง
.

  1. #Atmospheric #Science เป็นการศึกษาชั้นบรรยากาศของโลก และพลวัตของชั้นบรรยากาศโลก ประกอบด้วยรายละเอียดที่ซับซ้อนเช่น ความดัน อุณหภูมิ สารแขวนลอย ไอน้ำและปฎิสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น เป็นต้น การศึกษานี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศของประเทศ นอกจากนั้นการศึกษาด้านนี้ยังคาดหวังไปถึงความเข้าใจปรากฏการณ์เมฆที่จะเกื้อหนุนการบริหารจัดการน้ำของประเทศที่นับวันจะทวีความซับซ้อนมากขึ้น
  2. #Impact #from #Space เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ของโลกที่เป็นผลมาจากปรากฏการณ์ในห้วงอวกาศ การศึกษานี้เพื่อทำความเข้าใจ คาดการณ์ และหลีกเลี่ยงผลกระทบจากปรากฏการณ์เหล่านั้นที่จะมีผลต่อโลก ชั้นบรรยากาศโลก หรือชีวิตประจำวันของมนุษย์ ซึ่งผลกระทบเหล่านี้อาจจะก่อความเสียหายรุนแรงต่อเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันของคนไทย หรือส่งผลกระทบต่อเครื่องมือที่มีความละเอียดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับมาตราฐานความปลอดภัยของประเทศไทยและสากล และด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยทำให้การศึกษาภายใต้หัวข้อนี้ในบางเรื่องอาจมีข้อได้เปรียบกว่าภูมิภาคอื่นๆ จึงทำให้การศึกษานี้จะได้รับความสนใจและความร่วมมือจากนานาชาติ
  3. #Experiment in #Space เป็นการศึกษาภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำซึ่งไม่สามารถจำลองได้บนผิวโลก เช่น วิธีการพัฒนาวัสดุ สังเคราะห์สสาร หรือเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิต ที่มีคุณสมบัติใหม่ๆ ซึ่งนี่จะเป็นการดำเนินงานภายใต้การศึกษาวิจัยขั้นสูงเกี่ยวกับระบบโลกและอวกาศที่เป็นการแสวงหาโอกาสใหม่ให้กับประเทศ และแสวงหาคุณค่าจากศักยภาพในการเข้าถึงอวกาศของไทย
  4. #Space & #Universe #Exploration เป็นการศึกษาวัตถุในอวกาศ ปรากฏการณ์และพลวัตของจักรวาล เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความเป็นไปของโลก และระบบสุริยะจักรวาล นำไปสู่การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ เพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในการเข้าสู่อุตสาหกรรมอวกาศและการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อการพัฒนาประเทศ


จากทั้งหมด 7 องค์ประกอบ เป็นภาพกว้างที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของงานวิจัยภายใต้ ESS ซึ่ง #แต่ละธีมนั้นยังมีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน อาทิ การศึกษาสภาพความเป็นกรดของมหาสมุทรอาจจะต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจจาก Biogeochemistry หรือการศึกษาภัยพิบัติแผ่นดินไหวอาจจะต้องการข้อมูลจากสภาพประจุบนชั้นบรรยากาศโลก ณ ขอบอวกาศ

ปรากฏการณ์แสงสีเขียวที่ทำเอาชาวบานแตกตื่นเนื่องจากเสียงคล้ายระเบิดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนช่วงค่ำของวันที่ 22 มิถุนายนนั้น ก็เป็นอีกเหตุการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวัตถุอวกาศแบบไม่คาดคิด ซึ่งนี่อาจจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราวอีกมากมายที่ยังไม่มีการค้นพบในห้วงอวกาศ ดังนั้นแล้ว การวางรากฐานเพื่อการพัฒนาสู่องค์ความรู้ใหม่และนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมในบริบทที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโลกในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามาแล้วระดับหนึ่ง

ประกอบกับการรวมกลุ่มกันของ #ประชาคมวิจัยด้านระบบโลกและอวกาศ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านต่างหน่วยงาน ต่างองค์กร ต่างความสามารถมารวมตัวกัน จะเป็นการทำงานที่เกื้อหนุนกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาให้ประเทศชาติจากองค์ความรู้ของคนไทยเป็นสำคัญ
ในโอกาสนี้ #GISTDA ได้ร่วมกับ #ประชาคมวิจัยด้านระบบโลกและอวกาศของประเทศไทย ได้ร่วมกันจัด #งานประชุมวิชาการและการสัมมนานานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย (The 1st International Symposium on Earth Space System Frontier Research Thailand 2021) ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564  โดยสามารถรับชมผ่านทางออนไลน์ทาง Facebook : TNN ช่อง16 และ GISTDA ตั้งแต่เวลา 8:30 น. เป็นต้นไป

ภายในการประชุมพบกับปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “#บทบาทของ #อว. #ในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ #เพื่อสร้างโอกาสให้เศรษฐกิจไทย” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ มาร่วมอัพเดทการเตรียมการเพื่อรองรับ Earth Space System Frontier Research ของประเทศไทย

#เพราะอวกาศเป็นพื้นที่แห่งโอกาส การใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านี้ #ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อม ในทุกๆด้านไปพร้อมๆกันทั้งบุคลากร องค์ความรู้ แผนงาน โครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงแนวความคิด เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการ #นำคุณค่าจากอวกาศเพื่อพัฒนาสังคมไทย

อ้างอิง สมุดปกขาว Earth Space System Frontier Research การวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศ โดยประชาคมวิจัยด้านระบบโลกและอวกาศ

#จิสด้าก้าวสู่ปีที่21 #จิสด้า #GISTDA #งานวิจัยขั้นสูง #ระบบโลก #อวกาศ #คุณค่าจากอวกาศ #นโยบายอวกาศประเทศไทย

Admin 23/6/2564 1525 0
Share :